ชมรมภาษาสร้างสรรค์ Creative English Club มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ก่อเกิดจากการอบรมวิทยากรแกนนำการจัดค่ายภาษาอังกฤษอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์ โดยความร่วมมือของคณาจารย์สาขาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้การนำของ ดร.จงกิจ วงษ์พินิจ มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ เน้นหลักสูตร คบ. 5 ปี เพื่อฝึกการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกชั้นเรียน จัดอบรมมาแล้ว 4 รุ่น และประสบความสำเร็จในการให้บริการการจัดค่ายให้กับโรงเรียนในจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียง
Creative English Camp
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
การจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษอย่างสร้างสรรค์
ในปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยยังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก จากประสบการณ์ของการเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยมาเป็นเวลายาวนานผู้เขียนบทความพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ส่วนใหญ่มีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาน้อยมาก แม้แต่นักศึกษาใหม่ที่สมัครเข้าเรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ยังต้องปรับพื้นฐานทางภาษาอังกฤษในทุกทักษะ ผู้เขียนมองย้อนไปถึงการเรียนการสอนในระดับประถมและระดับมัธยมศึกษา ในปัจจุบันมีโรงเรียนเป็นจำนวนมากที่ยังขาดแคลนครูผู้สอนภาษาอังกฤษ บางโรงเรียนมีครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่จบไม่ตรงสาขา การถ่ายทอดความรู้จึงเกิดความผิดพลาดได้ นอกจากนี้ครูผู้สอนภาษาที่จบตรงสาขายังด้อยประสิทธิภาพในเรื่องของเทคนิควิธีสอนใหม่ๆ การสอนเป็นแบบบรรยายหน้าชั้นเรียน เน้นการสอนหลักไวยากรณ์โดยครูเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมทุกๆด้าน ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ซึงในทางปฏิบัติที่ถุกต้องนั้น การเรียนรู้ภาษาจะเกิดขึ้นได้ครูต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน มีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือกับผู้เรียนด้วยกัน มีกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความสนใจอีกด้วย
การจัดค่ายภาษาอังกฤษถือเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกชั้นเรียน ที่ผู้เรียนจะได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลินในการเรียนภาษาอังกฤษ เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากความจำเจของการเรียนในห้องเรียน ไปสู่การเรียนรู้ในบรรยากาศใหม่ๆ ผู้บริหารหลักสูตร ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจึงควรจัดประสบการณ์นอกชั้นเรียนให้แก่ผู้เรียนอยู่เสมอ
การจัดค่ายภาษาอังกฤษ
ในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ ผู้จัดควรคำนึงถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ระดับความรู้ของผู้เรียน
การจัดค่ายภาษาอังกฤษจะต้องคำนึงถึงระดับความรู้ของผู้เรียนเพื่อจะได้จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความรู้ความสามารถของผู้เรียน ไม่ควรจัดกิจกรรมที่ยากหรือง่ายเกินไปเพราะจะทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม
2. รูปแบบกิจกรรม
รูปแบบกิจกรรมการจัดค่ายถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดค่ายภาษาอังกฤษ ผู้จัดควรกำหนดรูปแบบที่หลากหลาย ส่งเสริมความรู้ทางการใช้ภาษาในทุกทักษะ นอกจากนี้ยังควรสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นอีกด้วยเช่น ความเชื่อมั่น ความเป็นผู้นำ และการกล้าแสดงออก
3. สถานที่ในการจัดกิจกรรม
สถานที่ในการจัดกิจกรรมค่ายควรเป็นสถานที่ที่แปลกใหม่ แตกต่างจากสิ่งแวดล้อมเดิมที่ผู้เรียนใช้เป็นสถานที่เรียนตามปกติ ควรมีบริเวณในการจัดกิจกรรมที่กว้างขวาง เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าค่าย การจัดค่ายนอกสถานที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความตื่นเต้น กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ อย่างไรก็ตามผู้จัดควรคำนึงถึงความสะดวกและปลอดภัยเป็นสำคัญ
4. ระยะเวลาในการจัดค่าย
ระยะเวลาในการจัดค่ายภาษาอังกฤษสามารถจัดตามความสะดวกของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สำหระบเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นสามารถจัดเป็นค่าย 1 วัน (one-day camp) ประถมศึกษาตอนปลายควรจัดอย่างน้อย 2 วัน ส่วนระดับอื่นสามารถจัดได้ 2-3 วันหรือ 1 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับกิจกรรมเสริมและสถานที่ที่จัดเช่น การเพิ่มกิจกรรมทัศนศึกษา หรือเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆอาจต้องใช้เวลามากขึ้น
การออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในการใช้ภาษาทั้ง 4 ทักษะ
1 กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice breaking activities)
กิจกรรมนี้ควรเป็นกิจกรรมกลุ่มใหญ่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนคุ้นเคยกัน สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ผู้นำกิจกรรมอาจเริ่มด้วยการนำร้องเพลงสั้นๆง่ายๆ มีท่าทางประกอบ (action songs) ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือ 30 ที่ตามความเหมาะสม
2. กิจกรรมเวียนตามฐาน (Rotation Activities)
หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมการละลายพฤติกรรมแล้วควรเริ่มกิจกรรมหมุนเวียนตามฐาน แต่ละฐานจะต้องมุ่งพัฒนาทักษะการใช้ภาษาทั้งสี่ด้าน ได้แก่การฟัง พูด อ่าน และ เขียน โดยการบูรณาการทั้งษะดังกล่าวอย่างสมดุลย์ ควรกำหนดฐานในลักษณะที่ผู้เรียนสามารถฝึกการใช้ภาษาและได้เรียนรู้ ศัพท์ สำนวน วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และการใช้ความคิดสร้างสรรค์
ในการจัดค่ายภาษาอังกฤษ ผู้จัดควรคำนึงถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ระดับความรู้ของผู้เรียน
การจัดค่ายภาษาอังกฤษจะต้องคำนึงถึงระดับความรู้ของผู้เรียนเพื่อจะได้จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความรู้ความสามารถของผู้เรียน ไม่ควรจัดกิจกรรมที่ยากหรือง่ายเกินไปเพราะจะทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม
2. รูปแบบกิจกรรม
รูปแบบกิจกรรมการจัดค่ายถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดค่ายภาษาอังกฤษ ผู้จัดควรกำหนดรูปแบบที่หลากหลาย ส่งเสริมความรู้ทางการใช้ภาษาในทุกทักษะ นอกจากนี้ยังควรสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นอีกด้วยเช่น ความเชื่อมั่น ความเป็นผู้นำ และการกล้าแสดงออก
3. สถานที่ในการจัดกิจกรรม
สถานที่ในการจัดกิจกรรมค่ายควรเป็นสถานที่ที่แปลกใหม่ แตกต่างจากสิ่งแวดล้อมเดิมที่ผู้เรียนใช้เป็นสถานที่เรียนตามปกติ ควรมีบริเวณในการจัดกิจกรรมที่กว้างขวาง เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าค่าย การจัดค่ายนอกสถานที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความตื่นเต้น กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ อย่างไรก็ตามผู้จัดควรคำนึงถึงความสะดวกและปลอดภัยเป็นสำคัญ
4. ระยะเวลาในการจัดค่าย
ระยะเวลาในการจัดค่ายภาษาอังกฤษสามารถจัดตามความสะดวกของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สำหระบเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นสามารถจัดเป็นค่าย 1 วัน (one-day camp) ประถมศึกษาตอนปลายควรจัดอย่างน้อย 2 วัน ส่วนระดับอื่นสามารถจัดได้ 2-3 วันหรือ 1 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับกิจกรรมเสริมและสถานที่ที่จัดเช่น การเพิ่มกิจกรรมทัศนศึกษา หรือเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆอาจต้องใช้เวลามากขึ้น
การออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในการใช้ภาษาทั้ง 4 ทักษะ
1 กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice breaking activities)
กิจกรรมนี้ควรเป็นกิจกรรมกลุ่มใหญ่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนคุ้นเคยกัน สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ผู้นำกิจกรรมอาจเริ่มด้วยการนำร้องเพลงสั้นๆง่ายๆ มีท่าทางประกอบ (action songs) ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือ 30 ที่ตามความเหมาะสม
2. กิจกรรมเวียนตามฐาน (Rotation Activities)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)